วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อำเภอเมืองเชียงใหม่

1. อนุสาวรีสามกษัตริย์

 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองเชียงใหม่  อยู่ด้านหน้า หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับ วัดอินทขีลสะดือเมือง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งการระลึกถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่ของ พญามังราย และพระสหายทั้งสอง คือ พญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา และ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) เจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อครั้งพระองค์ทรงย้ายเมืองจากเวียงกุมกาม มาสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นอันเป็นชัยภูมิที่ดีกว่า โปรดฯ ให้สร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นบริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน และได้ร่วมกับพระสหายทั้งสองสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1839 จนแล้วเสร็จในปีเดียวกัน ซึ่งขนานนามเมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่"  พระบรมราชานุสาวรีย์หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง โดยมีความสูง2.70 เมตร ออกแบบและทำการปั้นหล่อโดยอาจารย์ ไข่มุกด์ ชูโต พระบรมรูปประกอบด้วย พญามังรายประทับกลางเป็นประธาน พญาร่วงประทับอยู่เบื้องซ้าย พญางำเมืองประทับอยู่เบื้องขวา

สถานที่ตั้ง  ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

2. อนุสาวรีครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัยเป็นบุคคลแรกที่บุกเบิกการสร้างถนนขึ้นไปถึงพระบรมธาตุดอยสุเทพ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยตั้งอยู่บนทางขึ้นดอยสุเทพ ก่อนถึงน้ำตกห้วยแก้ว ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพมักจะลงนมัสการอนุสาวรียครูบาศรีวิชัยเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถนนจากเชิงดอยขึ้นไปสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยเริ่มลงมือเมื่อวันที่ พฤศจิกายน2477 และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2478 รวมระยะทางจากเชิงดอยไปถึงวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 10กิโลเมตร

3. พระบรมธาตุดอยสุเทพ

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน   วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ     ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

4. ถนนคนเดินท่าแพ

 ตั้งอยู่บริเวณประตูเมืองท่าแพ   ต่อไปยังถนนราชดำเนิน     เป็นถนนคนเดินที่ดังและใหญ่ที่สุด   เปิด เฉพาะ วันอาทิตย์ เวลาประมาณ 17.00 - 22.00 น. เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่  มีสินค้าให้เลือกสรร มากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น สินค้าพื้นเมือง จำพวกเครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้า ของที่ระลึก กระเป๋า ผ้าพันคอ โคมไฟ ฯลฯ  หรือจะเป็นสินค้าแฟชั่นก็มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป รวมทั้งของกิน เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว/น้ำยา ของ ทานเล่น โรตี ฯลฯ หากมาเยือนในช่วงอากาศหนาว ๆ เดินเที่ยวกาดกลางคืน ถนนคนเดินเชียงใหม่ก็เพลิดเพลินไปอีก แบบหนึ่ง ซึ่งที่นี่เป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่และได้รับ ความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

5. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร


เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"     พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญมาถึงหน้าวัด ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ พระเจ้าแสนเมืองมา จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียงพระ ประชาชนทางเหนือนิยมเรียกพระพุทธสิหิงค์ ว่า "พระสิงห์" จึงเป็นที่มาของชื่อ "วัดพระสิงห์" ในปี พ.ศ. 2360 พระญาธัมมลังกา หรือพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ โปรดให้บูรณะพระอุโบสถและพระเจดีย์   ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย พร้อมด้วยครูบาศรีวิชัย และประชาชนชาวเชียงใหม่ ได้ร่วมกันบูระฃณะปฏิสังขรณ์วัดพระสิงห์อีกครั้ง และได้มีการขุดพบสิ่งของมีค่ามากมาย อาทิ แผ่นทองคำจารึกเรื่องราวต่างๆ โกศบรรจุอัฐิพระญาคำฟู แต่สิ่งของเหล่านี้สูญหายไปในช่วงสงครามเอเชียบูรพา และในปี พ.ศ. 2493 วัดพระสิงห์(ศาสนา) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง   ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น