วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อำเภอเวียงแหง


 อำเภอเวียงแหง
เป็นเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทยพม่า มีคนหลายเชื้อชาติอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทั้งชาวเขา ไทยใหญ่ จีนฮ่อ แต่ละกลุ่มต่างก็ยังดำรงชีวิตตามขนบธรรมเนียมเดิมของตนเอง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะปลูกข้าว เพราะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ใจกลางหุบเขา ชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเพราะความเจริญยังแพร่มาไม่มากนัก เนื่องจากการสัญจรไปมาต้องผ่านเส้นทางคดเคี้ยวสูงชัน เลาะขุนเขาหลายลูกกว่าจะเข้าถึงได้ ปัจจุบันพึ่งมีถนนลาดยางตัดเข้าถึง จึงเหมือนเป็นการเปิดอำเภอนี้สู่โลกภายนอกอย่างแท้จริง
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยคำและทรงมีพระราชดำริให้จัดทำ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ โดยใช้หลักการ 3 อ.คือ อิ่ม อุ่น และอุดมการณ์ มีราษฎรที่เข้าร่วมโครงการทำหน้าที่เป็นยามรักษาชายแดน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ และศึกษารูปแบบหรือแนวทางให้คนอยู่กับป่าได้อย่างกลมกลืนโดยไม่ทำลายป่า

 
ถ้ำโบราณ
ตั้งอยู่ที่ บ้านลีซอแม่แตะ ต.เมืองแหง เป็นถ้ำของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือ ยุคหินกลางอายุประมาณ 5,000 ปี มีความลึกประมาณ 69 เมตร และพบขวานหินกะเทาะฝังอยู่บริเวณปากถ้ำและภายในถ้ำ รวม 8 อัน อายุประมาณ 4,000-5,000 ปี พบว่าอยู่ในยุคโคบินเนียน หรือ ยุคหินกลาง
 

บ้านเปียงหลวง
อยู่ติดชายแดนไทย - พม่า มีด่าน ช่องหลักแต่ง เป็นด่านชั่วคราวที่เปิดการค้าขาย ชายแดนในระดับท้องถิ่น ในยามเหตุการณ์สงบด่านจะเปิดให้ชาวบ้านในละแวกข้ามมาค้าขายกันได้ ชาวบ้านในตำบลนี้เป็นจีนฮ่อและไทยใหญ่ โดยชาวจีนฮ่อนั้นอพยพเข้ามาในสมัยเจียงไคเช็คเป็นประธานประเทศ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิม ทุกคนจะเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมตอนเย็นโดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน
 
พระบรมธาตุแสนไห
อยู่ที่ตำบลเมืองแหง จากบ้านเมืองายเข้ามา 55 กิโลเมตร เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาลแต่มา ได้รับการบูรณะในพ.ศ. 2457 เป็นปฏิมากรรมผสมระหว่างพม่า และล้านนาไทย ซึ่งการก่อสร้างทับพระธาตุเดิมที่มีขนาดเล็ก โดยของใหม่มีสันถาร 8 เหลี่ยม สันนิษฐานว่าที่นี่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งยกทัพ ไปยังเมืองอังวะของพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2147 หลังจากประชุมพลที่เมืองงาย จึงเสด็จไปทางเมืองห้างหลวงซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบันเพราะมีคูเมืองล้อมยาวกว่า 2 กิโลเมตร และเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับเมืองอังวะของพม่า เชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จมาพักทัพที่พระบรมธาตุแห่งนี้และสร้างบ่อน้ำใช้ส่วนพระองค์ และช้างศึกตรงบริเวณด้านหน้าเนินเขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำช้าง ประเพณีที่สำคัญของวัดนี้ คือ งานสรงน้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี


ไร่ช้างขาว
ตั้งอยู่ ที่ 354 หมู่ 2 บ้านกองลม ต.เวียงแหง อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 150 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง โดยรถยนต์ พื้นที่ของไร่ช้างขาว อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร อาการค่อนข้าเย็นสบายตลอดทั้งปี พืชที่ปลูกเป็นพืชผัก เช่น พริกชี้ฟ้า กะหล่ำม่วง ไม้ผล เช่น ส้มสายน้ำผึ้งและโชกุน ประมาณ 200 ไร่ (เฉพาะพริก) พริกที่ปลูกมีหลากหลายพันธุ์ตามความต้องการ ของท้องตลาด ซึ่งปัจจุบันทางไร่ได้พัฒนาการผลิตพริกสดเพื่อลดการใช้สารเคมีหรือการผลิต แบบชีวภาพและการผลิตที่ปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกไปขาย ตลาดแถบยุโรป ซึ่งมีการตรวจสารเคมีที่เข้มงวดมาก นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมไร่ และมีบ้านพักบริการ
 
วัดฟ้าเวียงอินทร์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยใหญ่ อยู่ที่บ้านหลักแต่งตรงชายแดนไทย - พม่าพอดีสมัยก่อนบริเวณบ้านหลักแต่งนี้ถือเป็นเขตอิทธิพลของขุนส่า อาณาเขตของวัดนี้จึงนับเป็นดินแดนเดียวกันแต่เมื่อขุนส่ามอบตัวแก่ รัฐบาลทหารพม่า ดินแดนวัดถูกแยกเป็นสองส่วน มีเจดีย์สีเหลืองทองอร่ามอยู่ในแดนไทย และจะมองเห็นหลังคาโบสถ์สีแดงทรงไทยใหญ่อยู่ในฝั่งพม่า ด้านหลังเป็นศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชชาวบ้านจะให้ความเคารพมาก และที่เชิงเขาด้านหลังเป็นสุสานนายพลโมเฮงอดีตผู้นำชาวไทยใหญ่ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น